กินถั่วช่วยป้องกันและรักษาปลาหงายท้อง

น้องปลาทองที่บ้านอยู่ดีๆ มีอาการว่ายแต่บนผิวน้ำเมื่อเวลาผ่านไปอีกสัปดาห์ก็ว่ายหงายท้อง เป็นช่วงกลางคืนก่อน หลังจากนั้นเป็นตลอดทั้งวันเลย ปลาทองบ้านใครเป็นแบบนี้บ้างครับ ผมจะบอกวิธีป้องกันและรักษาให้ทราบ

image

ก่อนอื่นเลย อาการปลาทองหงายท้องมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น กรรมพันธ์เกิดมาตัวสั้น หรือ ถุงลมในท้องปลาผิดปกติ ไตปลาวาย ติดเชื้อภายใน ท้องมาน เป็นต้น

การเลือกดูปลาก่อนซื้อนั้นดูง่ายมาก คือ ดูตอนว่ายและตอนหยุดนิ่ง ถ้าว่ายแล้วมีอาการหัวเชิดขึ้นหรือลง หรือตอนปลานิ่ง มีอาการท้ายลอย งดซื้อเด็ดขาดไม่ว่าปลาจะสวยหรือถูกยังไง

แต่มีอยู่อาการนึงเป็นจากการที่กินอาหารเม็ดอย่างเดียวต่อเนื่อง หรือ ให้อาหารเม็ดเยอะเกิน อาการเหล่านี้ป้องกันและรักษาได้ ถ้ารีบแก้ไขตั้งแต่แรก โดยให้กินถั่วลันเตาต้ม วันล่ะครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน เนื่องจากอาหารเม็ดไม่มีกากใยอาหาร เปรียบเหมือนคนกินแต่เนื้อสัตรไม่กินผัก ทำให้อึไม่ออก ดังนั้นการให้ถั่วลันเตาปลากินเพื่อเพิ่มใยอาหารช่วยอึออกและควร งดอาหารอย่างอื่นทุกชนิด กรณีปลาหงายท้องแล้ว พยายป้อนให้เข้าปากปลา วิธีป้องกันกรณีปลาปกติดี ให้ปลากินสัปดาห์ล่ะ 2 – 3 ครั้ง

วิธีการต้มถั่วง่ายมากครับ ให้ทำตามรูปต่อไปนี้

1. ใช้ถั่วแช่แข็งซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเก็ต ราคา 50 บาท ใส่ถ้วยเล็กๆ

image

2. เติมน้ำให้เหนือระดับถั่ว

image

3. เอาถั่วใส่ไมโครเวฟปิดฝากันถั่วกระเด็น

image

image

4. ตั้งไมโครเวฟที่ความร้อนสูงสุด ใช้เวลา 1 นาที

image

5. เอาถั่วออกไมโครเวฟเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อลดความร้อน เมื่อเย็นแล้วแกะเปลือกถั่วออก

image

image

6. ใช้เล็บจิ๊กถั่วเป็นชิ้นเล็กพอดีปากปลา

image

7. โรยให้ปลาทองกิน

image

เริ่มต้นเลี้ยงปลาทอง

ด้วยประสบการ์ณเลี้ยงไม้น้ำมากว่า 2 ปี บวกกับเหตุการ์ณบังเอิญ คือแฟนยกปลาทองให้เลี้ยง เส้นทางสายนี้จึงได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยความเป็นคนทำอะไรจริงจัง จึงได้ศึกษาค้นคว้าจากเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าไทยและต่างประเทศ และมีความคิดว่าน่าจะเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้บวกกับประสบการ์ณจริงนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นๆได้นำไปใช้ต่อ

image

“เลี้ยงปลาทองหลายคนว่าเลี้ยงยาก เป็นโรคง่าย ตายไว” ถ้าได้ศึกษาแล้วจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด ที่ตายส่วนมากเกิดจากความไม่รู้ เนื้อหาความรู้ที่มี มีเยอะตามเว็บแต่กระจัดกระจาย และน้อยมากที่คนเลี้ยงปลาทองจะพูดกันถึงเรื่องระบบชีวะภาพในตู้ ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานการดำรงค์ชีวิตของน้องปลาทองที่น่ารัก จึงอยากจะเล่าให้ฟังก่อนเป็นอันดับแรก

image

ระบบกรองแบบชีวะภาพหรือที่เรียกกันว่าระบบที่ใช้แบคทีเรียในการช่วยย่อยกำจัดของเสียจากน้องปลาทอง ระบบกรองที่ว่านี้มีชื่อเรียกต่างๆตามลักษณะการติดตั้งและหน้าตา เช่น กรองถัง(วัสดุกรองใส่ถังพลาสติก), กรองข้าง(กรองติดข้างตู้ปลา), กรองนอก(กรองวางข้างนอกตู้ปลา) และกรองใต้กรวด(กรองที่ดูดน้ำผ่านกรวดรองพื้นตู้ปลา)เป็นต้น

image

คำถาม คือ หน้าตาเป็นยังไงหรอ?
คำตอบ คือ ให้ดูในกรองจะมีวัสดุต่างอยู่ข้างในกรอง ไม่ว่าจะเป็น ไบโอบอล(ก้อนพลาสติกกลมๆ), ไบโอริง(ก้อนหินกลมมีรูเล็กๆ), หินคีรีก้า(หินสีแดง), ทราย และอื่นๆ วัสดุต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นต่างก็มีไว้เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรีย

แบคทีเรียในตู้ปลา เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยใช้เวลาเฉลี่ย30วันนับจากที่เราได้เริ่มเสียบปลั๊กเดินระบบไหลเวียนน้ำในตู้ผ่านเข้ากรอง ช่วงเวลาก่อน 30 วัน ระบบแบคทีเรียยังทำงานไม่เต็มที่ “แล้วจะมีผลอะไรกับน้องปลาไหม?” คำตอบ คือมีแน่นอน สารพิษจากอึน้องปลาสะสมในตู้มากกว่าถูกกำจัด เพราะจำนวนแบคทีเรียกำจัดมีปริมาณน้อยอยู่ และเมื่อสะสมไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งน้องปลาจะเริ่มทยอยตาย ระยะเวลาช่วงนี้เรียกว่า ระบบยังไม่เซ็ตตัว วิธีแก้ คือ การเปลี่ยนน้ำ 3 วันครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งละ25-30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณสะสมสารพิษในน้ำ ทำไปจนครบ 30 วัน จึงเริ่มเปลี่ยนน้ำสัปดาห์ล่ะครั้ง

image

หลักการทำงานของแบคทีเรีย คือ แบคทีเรียเป็นสัตว์ตัวจิ๋วชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในที่มีอาหารของมัน อาหารของมันได้มาจากของเสียที่น้องปลาอึออกมาจะปล่อยสารพิษที่มีชื่อว่า แอมโมเนีย สารที่ว่านี้มีพิษกับน้องปลามาก คือ สะสมในน้ำมากๆทำให้น้องปลาตายได้ แบคทีเรียจะเข้าไปย้อยสลายสารแอมโมเนียให้กลายเป็นสารอีกตัวที่มีชื่อว่า ไนไตรต เจ้าเนี้ยเป็นพิษรองเป็นอันดับ2 เมื่อเกิด ไนไตรต จะมีแบคทีเรียอีกตัวคอยย่อยสลายให้ไนไตรตกลายเป็นไนเตรตซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว แบคทีเรียสองตัวแรกที่ย้อยสารพิษ แอมโมเนียและไนไตรต ต้องใช้ออก๊ซิเจนในการดำรงชีวิต ถ้าเราต้องการให้ระบบแบคทีเรียในตู้ปลาเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เทคนิค คือ การใส่ออก๊ซิเจนในตู้เยอะๆ ทำความสะอาดวัสดุใยกรองต่างๆให้น้ำไหลผ่านถังกรองได้ดีที่สุดเป็นผลให้น้ำนำออก๊ซิเจนเข้าบ้านของแบคทีเรีย (วัสดุในกรองต่าง) หมั่นล้างวัสดุกรองที่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีอึน้องปลามาเกาะอุดตันออก ทำแบบนี้ได้ผลที่ได้ คือ เมื่อสภาพแวดล้อมและมีอาหารเอื้อ แบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสามารถย้อยสลายสารพิษทั้งหมดเป็นศูนย์

image

แบคทีเรียตัวสุดท้ายที่จะกล่าวถึงมีหน้าที่ย้อยสารพิษ ไนเตรต มีพิษน้อยกว่าสองตัวแรก แต่ถ้าสะสมมากๆจะทำให้ปลาเป็นโรครูที่หัวได้ ซึ่งเป็นสารพิษผ่านขบวนการย้อยจากแบคทีเรียอื่นๆเป็นตัวสุดท้าย นั้นก็หมายความว่าถ้าสามารถย้อยไนเตรตได้ก็ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะว่ามันเป็นแบคทีเรียชนิิดที่อยู่กับสภาพแวดล้อมไม่มีออก๊ซิเจนจึงต้องใช้กรองแบบพิเศษและนอกจากสารพิษที่เกิดจากอึน้องปลาแล้ว ยังมีคราบมันจากอาหารและ เมือกปลาที่ปลาขับออก เมื่อรวมตัวมากๆที่ผิวน้ำจนน้ำหนืด ระดับออก๊ซิเจนในน้ำจะต่ำลงด้วย วิธีการเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ 1 ครั้ง จึงเป็นวิธีการง่ายที่สุดในการกำจัด สารไนเตรต คราบมัน และเมือกปลา

เมื่อรู้หลักการเบื้องต้นแล้วเราสามารถใช้มันเป็นหลักปฏิบัติในการดูแลน้องปลาให้ปลอดภัยและถูกวิธีได้แล้วล่ะครับ

image

ในกรณีเลี้ยงปลาหลายตัวในตู้และกลัวว่าขนาดและปริมาณวัสดุกรองไม่พอ มีวิธีแก้ดังนี้ครับ

1. ซื้อน้ำยาวัดค่า แอมโมเนีย และไนเตรต ส่วนไนไตรตจะซื้อหรือไม่ก็ได้ตามใจ เพราะตามความคิดของผมใช้เกณเดียวกับค่าแอมโมเนีย คอยเช็คประจำโดยเฉพาะช่วงระบบยังไม่เซ็ตตัว ถ้าเห็นว่าขึ้นสูงให้เปลี่ยนน้ำ เพื่อลดปริมาณสะสมของสารพิษ

image

2. กรณีปลาเยอะเกินระบบจะรองรับได้ ให้เปลี่ยนวัสดุที่เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียให้มีพท.ผิวเยอะขึ้น เช่น วัสดุมีรูพรุนสูง เนื่องจากแบคทีเรียมีพท.บ้านมากขึ้นจำนวนแบคทีเรียมากตาม

image

image

3. กรณีเลี้ยงไประยะเวลานึงผิวน้ำหนืดๆ เป็นได้ 2 อย่างครับ คือ อึปลาอุดตันใยกรองมากจนน้ำเข้ากรองได้น้อย ปริมาณออก๊ซิเจนในกรองลดลง แบคทีเรียเริ่มทยอยตาย วิธีแก้ คือ เปลี่ยนใยกรองใหม่ และเอาวัสดุกรองมาล้างน้ำให้อึปลาที่อุดตันออกให้มากที่สุด น้ำที่ใช้ล้างให้ใช้น้ำในตู้ปลา เพื่อไม่ให้แบคทีเรียตาย กรณีล้างยังเป็น ให้ดูอาหารที่เราให้ว่าให้แล้วมีคราบไขมันออกมาลอยผิวน้ำเยอะไหม เช่น ไข่ตุ๋น เป็นต้น อาหารพวกนี้ถ้าคุณไม่มีเวลาเปลี่ยนน้ำทุกวัน ผมแนะนำให้ปลากินก่อนเปลี่ยนน้ำ

4. กรองแบบไหนดีที่สุด คำตอบ ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของกรอง แต่อยู่ที่ ปัจจัย คือ พื้นที่วัสดุที่เป็นบ้านให้แบคทีเรีย ยิ่งมีรูพรุนสูง ทำให้จำนวนแบคทีเรียมากตาม เช่น ไบโอบอลมีพท.น้อยกว่าไบโอริง แต่มีข้อดีอยู่ 2 อย่างคือ กระแสน้ำไหลผ่านดีกว่าทำให้ปริมาณออก๊ซิเจนเข้ากรองเยอะตาม สิ่งอุดได้น้อยกว่าทำให้ไม่ต้องคอยมาล้างบ่อยๆ บางสูตรใช้ร่วมกัน คือ ให้ไบโอบอลเป็นชั้นแรกที่น้ำเข้าก่อนๆส่งต่อให้ไบโอริง วัสดุที่จะขอกล่าวต่อไปนี้มีพท.ให้แบคทีเรียมากที่สุด คือ ทรายขนาดกลาง รองรับปริมาณของเสียได้มาก นิยมใช้กับบ่อปลา ลักษณะของกรองเป็นทรงกระบอกมีท่อน้ำเข้าเพื่อไปกวนทรายในกระบอกเพื่อให้ออก๊ซิเจนไหลเวียนทั่วถึง ดังภาพด้านบนยี้ห้อ Azoo ตามสเป็คโรงงานสามารถใช้กับบ่อ 500 ลิตร แต่ผมเอามาใช้กับบ่อปลาทองขนาด 240 ลิตร มีน้องปลาอยู่ 11 ตัว ให้อาหารวันล่ะ 3 มื้อ มันสามารถกำจัดค่าแอมโมเนียในบ่อเป็นศูนย์ แต่ ข้อเสียคือ น้ำหยุดเกินชม. อาจทำให้แบคทีเรียตายหมดได้ เช่น กรณีไฟดับ ข้อดี คือ กระบอกมีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องมาล้างทราย เพราะสิ่งสกปรกถูกกระแสน้ำปั่นออกหมด
สรุป คือ ปลาในตู้เยอะไหม ถ้าเยอะใช้วัสดุรูพรุนสูงหน่อย มีเวลาล้างวัสดุบ่อยไหม ถ้าไม่ค่อยมี ใช้วัสดุรูพรุนต่ำลงมาหน่อย